หันมาดูแลสุขภาพช่วง วัยทอง เพื่อสุขภาพที่ดี มีความสุข

วัยทอง

วัยทอง (Menopause) หรือวัยหมดประจำเดือน คือสภาวะเปลี่ยนแปลงของผู้หญิงทางร่างกายและจิตใจ เกิดจากรังไข่หยุดผลิตไข่ทำให้ขาดฮอร์โมนเพศหญิง ผู้ที่เข้าสู่วัยทองจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 45- 55 ปี

ซึ่งก่อนที่จะเข้าสู่วัยทองนั้น ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้า คือ ประจำเดือนเริ่มมาคลาดเคลื่อน หรือมากะปริบกะปรอย และประจำเดือนขาดไป 1 ปี และกลับมาเป็นอีกครั้ง ก่อนจะหมดประจำเดือนอย่างถาวร

ผู้หญิง วัยทอง บางคนอาจไม่มีอาการอะไร  แต่ในผู้หญิงบางคนอาจมีอาการรุนแรงมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน

ซึ่งกรณีนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อพิจารณาเรื่องการรับฮอร์โมนทดแทน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม

สารบัญ

อาการเข้าสู่วัยทอง

วัยทอง

1. อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดไม่มีสาเหตุ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้

บ่อยครั้งที่มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ที่รวดเร็ว เดี๋ยวหงุดหงิด น้อยใจ หรือโมโหขึ้นมาแบบไม่มีสาเหตุ ส่งผลให้ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางรายอาจเครียดจนเกิดเป็นอาการซึมเศร้าตามมา ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่ลดลง

2. ร้อนวูบวาบตามร่างกาย

อาการนี้จะเป็นอาการที่พบได้บ่อยในช่วงก่อนจะหมดประจำเดือน ผู้ที่อยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือนจะรู้สึกร้อนวูบวาบตามร่างกาย บางรายอาจมีอาการผิวหนังแดง หน้าแดง นอกจากนี้อาการดังกล่าวส่งผลให้เหงื่อออก ร้อนๆหนาวๆ นอนไม่หลับ หงุดหงิดและเครียดได้อีกด้วย

3. นอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับเกิดได้บ่อยในวัยทองทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งเกิดจากความวิตกกังวล ภาวะอารมณ์เปลี่ยนแปลงไป หรืออาจเป็นเพราะอาการร้อนวูบวาบ จึงทำให้รู้สึกว่านอนหลับยาก

4.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดตามกระดูกและข้อ

อาการที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่กระดูกเปราะบางลง ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและเจ็บตามข้อ ซึ่งอาการดังกล่าวเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย

5. รูปร่างเปลี่ยน

ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองจะมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป กล้ามเนื้อลดลง เอวเริ่มหาย มีไขมันเข้ามาแทนที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ และยังส่งผลให้ผิวแห้ง เหี่ยวไม่เต่งตึง

6. ปัญหาช่องคลอดแห้ง และความต้องการทางเพศลดลง

เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติจะทำให้มีความสนใจหรือมีความต้องการทางเพศลดน้อยลง บางรายรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ในครอบครัวหรือชีวิตคู่ได้

7. มีอาการหลงๆลืม

เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน มีความสัมพันธ์กับการควมคุมในสมองและสารด้านสื่อประสาทซึ่งมีผลกระทบต่อสมาธิและความจำ

8. ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ (กลั้นปัสสาวะไม่ได้)

ส่วนใหญ่เกิดจากการหย่อนยานของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน พบบ่อยเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

สังเกตอาการวัยทอง

  • อาการร้อนวูบวาบ (hot flush) โดยเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนบน เช่น บริเวณหน้า คอ และอก มักเกิดอาการนานประมาณ 1-5 นาที ร่วมกับ อาการอื่น ได้แก่ เหงื่อออก หนาวสั่น วิตกกังวล หรือใจสั่นได้ อาการเหล่านี้อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • การนอนหลับยากขึ้น
  • ช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อและคันในช่องคลอด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
  • โรคกระดูกพรุน
  • โรคไขมันในเลือดสูงเพิ่ม โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากขึ้น เนื่องจากจากการขาดเอสโตรเจน
  • เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่สำคัญในการลดไขมันไม่ดี( LDL)
  • เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • ซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด มีความวิตกกังวลง่าย
  • ผิวหนังเหี่ยวแห้ง และบาง ขาดความยืดหยุ่น เป็นแผล และกระได้ง่าย

ระยะของวัยทอง

วัยทอง

“สตรี วัยทอง” หรือสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือวัยหมดระดู หมายถึง สตรีในวัย 40 – 59 ปี ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงเนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน

ซึ่งทำให้สิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวรร่วมด้วยกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามมา

แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause)
    เป็นระยะเริ่มของการหมดประจำเดือนทำให้สตรีมีประจำเดือนมาผิดปกติ ร่วมกับมีอาการทางร่างกาย เช่น ร้อนวูบวาบ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์จะแปรปรวน ซึ่งระยะนี้จะเกิดประมาณ 2-3 ปี
  • ระยะหมดประจำเดือน (menopause)
    เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่การหมดประจำเดือนมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี
  • ระยะหลังหมดประจำเดือน (postmenopause)
    เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่หลังหมดประจำเดือนมาแล้ว 1 ปี ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ช่องคลอดตีบแคบ กระดูกพรุน และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆได้ง่าย

วิธีดูแลสุขภาพช่วงวัยทอง

วัยทอง

1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการเสพสิ่งเสพติดของมึนเมา
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ โดยเน้นแคลเซียม ซึ่งมีอยู่มากในอาหารประเภทถั่ว งา ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย และนม
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
4. พักผ่อนให้เพียงพอ และมีกิจกรรมเพื่อคลายเครียด
5. คู่สมรส ควรจะมีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความต้องการและปัญหาด้านเพศสัมพันธ์
6. เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกครั้ง
7. ในกรณีที่รู้สึกว่าช่วงวัยทองเป็นช่วงที่รบกวนชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาและแก้ไขปัญหา เช่น การใช้ฮอร์โมนยา หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม

อาหารสำหรับคนวัยทอง

วัยทอง

1. ผลไม้สด เป็นอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ด้วย
2. ถั่วเหลือง มีไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนในวัยทองได้
3. เห็ดหูหนูขาว อุดมไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิดมีสารคอลลาเจน กรดอะมิโน และสารต้านอนุมูลอิสระ
4.ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตกระตุ้นสารเซโรโทนินของคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินได้มากขึ้น เพื่อทำให้อารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แปรปรวน และสามารถช่วยลดความเครียดได้
5. เม็ดบัว มีวิตามินซีสูง ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต สรรพคุณเด่นช่วยในเรื่องของการบำรุงร่างกาย บำรุงเลือดสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนดี
6. นม มีโปรตีนสูงช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกแข็งแรง
7. ดาร์กช็อกโกแลต มีสารฟลาโวนอยด์ รวมทั้งธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และทองแดงทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดความเครียด
8. เก๋ากี้ ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันทำให้ไม่อ้วนง่าย ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบำรุงเลือด ปรับระบบประจำเดือน ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้ง

เนื่องจากวัยทองไม่ใช่โรคภัย แต่เป็นช่วงวัยที่ทุกคนต้องเจอ และอาการทั้งหมดเป็นผลมาจากภาวะร่างกายที่ฮอร์โมนเพศลดลง