ยานอนหลับแบบไหนดี ออกฤทธิ์เร็ว ช่วยได้จริงหรือไม่

ยานอนหลับ

ยานอนหลับ จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และการให้คำแนะนำของเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรปรับเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง หรือหยุดยาเองทันที เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดจากยา การดื้อยา หรืออาการถอนยา

การนอนไม่หลับ เกิดจากสาเหตุทางกาย พฤติกรรม และสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ ที่ขึ้นกับแต่ละบุคคล หลายคนมีปัญหาการหลับในหลายๆแบบดังกล่าวร่วมกัน และหาทางออกด้วยวิธีรับประทานยานอนหลับ

การรักษาปัญหาการนอนไม่หลับจะเริ่มต้นด้วย วิธีไม่ใช้ ยานอนหลับ โดยขจัดเหตุปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับ ปฏิบัติตามสุขอนามัยการนอนอย่างเหมาะสม

สิ่งที่สำคัญของการรับประทานยานอนหลับ คือ ไม่ควรรับประทานยาเกินกว่าที่แพทย์สั่ง และไม่ควรรับประทานยาร่วมกับแอลกอฮอล์ เนื่องจากยิ่งเพิ่มความง่วงซึม และอาจเพิ่มฤทธิ์กดการหายใจจนถึงแก่ชีวิตได้

การใช้ยาช่วยนอนหลับบางกลุ่ม โดยเฉพาะยากลุ่ม BZD เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการดื้อยา คือ เมื่อใช้ยาในปริมาณเท่าเดิม แต่ให้ผลน้อยลง และหากหยุดยาทันทีอาจทำให้เกิดอาการถอนยา คือ มีอาการ หงุดหงิด นอนไม่หลับ วิงเวียน สั่น และไม่มีสมาธิ

สารบัญ

ยานอนหลับคืออะไร

ยานอนหลับ

ยานอนหลับ คือ ยาที่ใช้รักษาปัญหาการนอนไม่หลับ มักนำมาใช้บ่อยเมื่อเกิดภาวะนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ การนอนไม่หลับพบได้มากสำหรับผู้ที่มีอายุสูงขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถพบได้ในกลุ่มคนวัยทำงาน หรือวัยรุ่น

บางคนนอนไม่หลับในระยะสั้น ในขณะที่บางคนเกิดภาวะนอนไม่หลับในระยะยาวส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันจึงต้องพึ่งยานอนหลับหรือยานอนหลับออกฤทธิ์เร็ว

ปัจจุบันยานอนหลับแบ่งออกเป็นหลายชนิด มีความแตกต่างทางโครงสร้างเคมีและผลทางเภสัชกรวิทยา ทุกคนรู้หรือไม่การทานยานอนหลับไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด หนำซ้ำยังอาจเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาด้วย

ยานอนหลับ

อาการนอนไม่หลับมาจากหลายสาเหตุ ทั้งความเครียด ปัญหาชีวิต อายุที่มากขึ้น การปรับเวลานอนหลับ ไดเอต ทุกคนล้วนแต่เคยประสบปัญหานี้มาก่อน และบางคนเจออยู่เกือบทุกวัน

ยานอนหลับจึงเป็นทางเลือกในความคิดของหลายคน จนคิดว่าคุมการกินได้เหมือนยาแก้ปวด แต่ในทางการแพทย์ถือเป็นการซื้อยานอนหลับกินเอง ถือเป็นเรื่องอันตรายที่ต้องระวัง ผิดกฎหมายควบคุม

การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบต่อบุคคลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับจำนวนไม่น้อยที่ได้รับการรักษาด้วยยานอนหลับ และรับประทานยานี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจนรู้สึกว่าตนเองจะไม่สามารถนอนหลับได้เลย

หากไม่ได้รับประทานยาเหล่านี้ หลายคนไม่รู้ว่าตนเองเกิดภาวะติดยานอนหลับจนกว่าจะพยายามเลิกใช้ยา ซึ่งการเลิกรับประทานยาอย่างทันทีหรือเรียกว่าหักดิบนั้นก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างมากราวกับว่าคุณกำลังตกอยู่ในการต่อสู้ที่ดุเดือดและมีอันตราย

ความจริงแล้วยังมีวิธีการเลิกยาที่ดีกว่าการ “หักดิบ” ที่จะช่วยให้คุณสามารถเลิกใช้ยานอนหลับได้อย่างปลอดภัยโดยไม่รบกวนต่อการดำเนินชีวิตปกติประจำวัน

โดยการค่อย ๆ ลดปริมาณยาที่รับประทานลงอย่างช้า ๆ ร่วมกับการฝึกนิสัยในการนอนหลับอย่างเป็นธรรมชาติและที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้การเลิกยาครั้งนี้ดำเนินไปด้วยดีและประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวังไว้นั่นก็คือ “คุณควรขอคำปรึกษาแพทย์ที่รักษาก่อน”

รับประทานยานอนหลับ ช่วยได้จริงหรือ?

ยานอนหลับ

ท่านมีปัญหาการนอนไม่หลับบ่อยมากแค่ไหน ? เพิ่งเป็น หรือ เป็นเรื้อรัง เหตุปัจจัยที่แตกต่าง จะมีผลต่อความสามารถในการหลับที่ต่างกัน

การนอนไม่หลับ เกิดจากสาเหตุทางกาย พฤติกรรม และสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ ที่ขึ้นกับแต่ละบุคคล

สิ่งที่จาเป็นต้องแยก คือ เริ่มไม่หลับในช่วงใดของการนอน ได้แก่

  • เริ่มต้นล้มตัวลงนอนก็หลับยากแล้ว
  • เริ่มหลับได้ไม่ยาก แต่ตื่นกลางดึก หรือสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ
  • เริ่มหลับได้ หลับได้ต่อเนื่อง แต่หลับได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ตื่นแล้วหลับต่อไม่ได้
  • หลายคนมีปัญหาการหลับในหลายๆแบบดังกล่าวร่วมกัน และหาทางออกด้วยวิธีรับประทานยานอนหลับ

แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า ท่านกำลังทาร้ายตัวท่านเอง เพราะยานอนหลับหลายอย่าง มีผลกดการทางานของสมอง ให้ช้าลง และเริ่มต้นเข้าสู่ระยะการหลับ แต่หากบุคคลนั้น มีประวัติสงสัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เช่นประวัติกรน หลับแล้วไอหรือสาลักอากาศ

ยานอนหลับ จะยิ่งมีผลกดการทางานของสมอง แล้วทาให้มีโอกาสขาดอากาศมากขึ้น ทาให้ระยะการหลับลึกลดลง สภาพร่างกายเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลเสียต่อสมอง หัวใจ และหลายๆระบบ นอกจากนี้ร่างกายของท่านยังต้องการยาไปตลอดและมีโอกาสดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ

ยานอนหลับบางอย่าง ยังทาให้ท่านมีพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับที่ควบคุมไม่ได้

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับ เพื่อซักประวัติ ตรวจหาสาเหตุและวางแผนการตรวจรักษา

ปัญหาการนอนไม่หลับ แก้ไขได้ หากทำความเข้าใจและมุ่งมั่นที่จะรักษา ดังนั้นคนที่ไม่ฝันเลย ฝันน้อยแต่ละคืน หรือฝันมาก อาจแสดงถึงการเปลี่ยนแปลง หรือความผิดปกติของสมอง ความจำ สภาวะทางอารมณ์ หรือแม้แต่ความผิดปกติของร่างกายระบบต่าง ๆ

อย่าปล่อยให้ฝันสลาย ทุกคนต้องฝัน เพื่อชีวิตและการทำงานที่ปกติของร่างกาย

ประเภท ยานอนหลับ

ยานอนหลับ

ยาในกลุ่ม NON-BENZODIAZEPINE HYPNOTICS

ยาในกลุ่ม NON-BENZODIAZEPINE HYPNOTICS เป็น ยานอนหลับออกฤทธิ์เร็ว ได้ผลค่อนข้างดี ไม่ค่อยเกิดภาวะดื้อยาหรือไม่ค่อยติดยา เช่น Zolpidem ยานอนหลับในกลุ่มนี้สามารถดูดซึมได้ดี

สำหรับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้นไม่มาก ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นคือภาวะง่วงซึม ละเมอ วิงเวียนและมึนศีรษะ

ยาในกลุ่ม BENZODIAZEPINES

ยาในกลุ่มนี้เป็น ยานอนหลับชนิดแรง ที่ออกฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น คลายความกังวล นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้และการเคลื่อนไหวด้วย อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นคืออาจทำให้ผู้รับประทานง่วงนอนมากแม้จะช่วยให้นอนหลับแต่ทำให้ระยะเวลาการนอนหลับสั้นลง

อีกทั้งยังมีผลต่อระบบการหายใจด้วย อาจทำให้เกิดช่วงเวลาหยุดหายใจนาน เมื่อหยุดทานยังอาจทำให้เกิดภาวะหงุดหงิด วิงเวียน อ่อนเพลีย ซึมเศร้า

ยาในกลุ่ม ANTIDEPRESSANTS

ยาในกลุ่ม ANTIDEPRESSANTS หลักๆ แล้วใช้รักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ตัวยาออกฤทธิ์ที่สารสื่อประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย นอกจากนั้นยังช่วยรักษาโรคไมเกรน โรคลำไส้ไวต่อสิ่งเร้าได้ด้วย รูปแบบตัวยามีทั้งเป็น ยานอนหลับแบบน้ำ และแบบเม็ด ยามีขนาดตั้งแต่ 10 25 50 มก.

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นคือปากแห้ง เกิดปัญหาท้องผูก ปัสสาวะลำบาก น้ำหนักเพิ่มและสมรรถภาพทางเพศลดน้อยลง หากใช้กับเด็กหรือวัยรุ่นเพื่อรักษา เสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงแบบรุนแรงได้

ยาประเภทอื่นๆ

นอกจากยานอนหลับกลุ่มหลักๆ ที่เราได้กล่าวถึงไปแล้ว ยังมียานอนหลับประเภทอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึง เช่น ยา Zopiclone ยากลุ่มนี้ช่วยให้หลับเร็วและหลับนาน ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ไม่ค่อยดื้อยาย แต่อาจพบอาการง่วงหลังจากตื่นขึ้น

จริงๆ แล้วยานอนหลับไม่ว่าจะเป็นยานอนหลับกลุ่มใด ยานอนหลับแบบเม็ด แบบน้ำหรือ ยานอนหลับแบบหยด ล้วนแล้วแต่มีผลข้างเคียงทั้งหมดทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าจะเกิดผลข้างเคียงมากหรือน้อย

ยานอนหลับหาซื้อได้ที่ไหน

ยานอนหลับ

1. ยานอนหลับจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ

ยานอนหลับ จัดว่าเป็น วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 ควบคุมการนำเข้า และจำหน่ายโดยกองควบคุมวัตถุเสพติด หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง

เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบอาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม และผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง ใช้ประโยชน์ในการรักษาพยาบาลสำหรับคนไข้หรือสัตว์ที่ตนบำบัดอยู่และใช้ตามโรงพยาบาลสำหรับบุคคลที่ต้องให้ยานอนหลับจะขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยของแพทย์ว่าเห็นควรจะให้ยานอนหลับเท่านั้น

2. ป้องกันการนำยานอนหลับไปใช้ในทางที่ผิด

ปัญหาของยากลุ่มนี้ในสังคมไทย แม้ว่ายาชนิดนี้เป็นยาควบคุมตามใบสั่งแพทย์แต่ยังพบว่ามีการลักลอบนําเข้าจากต่างประเทศและ นํามาซื้อขายกันตามตลาดมืด

จึงทําให้เกิดช่องทางการนํายามาใช้ในทางที่ผิด โดยเหล่ามิจฉาชีพได้นํายานี้ไป ใช้ในการมอมเมาเหยื่อ เพื่อการรูดทรัพย์หรือใช้มอมสาวเพื่อล่อลวงไปข่มขืน ทั้งนี้พบว่า เป็นการถูกหลอกให้กิน ยาโดยการผสมกับแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ หรือการหลอกให้กินโดยตรง

สมุนไพร อาหารเสริม วิตามิน สำหรับการนอนหลับ

มีอาหารเสริมที่สามารถช่วยในการนอนหลับได้ เช่น สารเมลาโทนิน แต่ไม่สามารถซื้อออนไลน์ได้ หรือ สมุนไพร วิตามิน ที่มีสรรพคุณข้างเคียงในการช่วยนอนหลับ ที่พอหาซื้อผ่านเว็บได้บ้าง

วิธีรับประทาน ให้รับประทานทั้งเม็ด วันละ 1 ครั้งก่อนนอน โดยห้ามหัก แบ่ง บด เคี้ยว เริ่มกินยาตั้งแต่ก่อนเข้านอนวันแรกที่เดินทางไปต่างประเทศที่เปลี่ยนช่วงเวลาจากประเทศเดิม กินประมาณ 3 คืนติดต่อกันต่อเนื่อง จนสามารถนอนหลับได้เองตามปกติ แต่เมลาโทนินไม่ว่าจะเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่สามารถขายออนไลน์ได้ ต้องไปที่ร้านขายยา

กลุ่มพืชสมุนไพรเดี่ยวที่ใช้รักษาอาการนอนไม่หลับ

ขี้เหล็ก

รสขม ใช้ใบแก้นอนไม่หลับ หรือนำมาปรุงอาหารได้ เช่น แกงขี้เหล็ก ในใบขี้เหล็กจะมีฤทธิ์ในการกดประสาทส่วนกลาง สมองและไขสันหลัง

ชุมเห็ดไทย

รสขมเมา ใช้เมล็ดรักษาอาการนอนไม่หลับ บำรุงธาตุ โดยการคั่วเหมือนคั่วกาแฟ ชงดื่มก่อนนอน ในเมล็ดจะมีสาร Anthreguinene ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง

รากระย่อม

รสขม ใช้รากแก้นอนไม่หลับ เป็นยากล่อมประสาทและบำรุงประสาท บดผงปั้นเป็นเม็ด อบหรือคั่ว ชงดื่มหรือต้มกิน

ดอกกัญชา

ใช้ดอกแก้นอนไม่หลับ โดยการคั่ว ชงดื่มก่อนนอน มีฤทธิ์ระงับระบบประสาท ทำให้สมองสงบลง และช่วยให้หลับสบายขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีอาหารหลายชนิดที่มีสารที่ช่วยให้หลับง่ายขึ้น (อ่านต่อในบทความ: 8 อาหารช่วยให้หลับง่าย บอกลาปัญหาการนอน)

อย่างไรก็ตาม ถ้านอนไม่หลับติดต่อกันหลายวัน ควรปรึกษาเภสัชกรตามร้านยาใกล้บ้าน หรือ หมอผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า เพราะอาจมีความผิดปกติในร่างกายที่ต้องรักษาให้ตรงจุด การฝืนนอนให้หลับเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้นเท่านั้น ในระยะยาวควรปรับสภาพร่างกายให้หลับได้ดี

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

ยานอนหลับ

ปัญหานอนไม่หลับเป็นปัญหายอดฮิตพอๆ กับปัญหาปวดหลัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในหมู่ของผู้สูงอายุ ซึ่งการเรียนรู้สาเหตุของปัญหาและการรักษาจะช่วยให้เราสามารถลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนอนไม่หลับได้

สาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ

  • ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมที่ทำให้นอนหลับยาก หลับไม่สนิท เช่น มีแสงสว่างมากเกินไป คับแคบอึดอัด มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ มีเสียงดังจากข้างห้องหรือข้างบ้าน และการนอนรวมกับผู้อื่นที่ไม่สนิท เป็นต้น
  • สภาวะทางจิตใจและอารมณ์ เช่น ความเครียด การได้รับแรงกดดัน การหมดไฟ หมดกำลังใจ ท้อแท้ เป็นต้น หรืออาจกำลังต้องเผชิญกับความเศร้า เช่น การสูญเสียของรัก คนที่รัก เป็นต้น
  • อาการเจ็บป่วย จำพวกที่ส่งผลให้เกิดการปวด เช่น ปวดหัว ปวดขา ปวดแขน ปวดท้อง เป็นต้น อาการคลื่นไส้อาเจียน และการวิงเวียนศีรษะ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการนอนไม่
  • หลับชั่วคราวเมื่ออาการเจ็บป่วยหายไปก็จะสามารถนอนหลับได้ปกติ แต่สำหรับบางโรคอาจส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง เป็นต้น
  • มีปริมาณแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในร่างกายสูงจนเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานเหล้า เบียร์ กาแฟและการสูบบุหรี่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับรวมทั้งโรคอื่นๆ อีกด้วย
  • สภาวะการนอนละเมอ การนอนกรน ฝันร้าย ที่ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้หลับอย่างสนิท มักส่งผลให้ช่วงเช้าหรือหลังตื่นนอนมีอาการอ่อนเพลียและมึนงง
  • อาชีพที่ทำให้มีเวลานอนไม่แน่นอน เช่น ตำรวจ หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น ทำให้ร่างกายไม่สามารถเรียนรู้และจดจำพฤติกรรมการนอนที่เหมาะสมได้ รวมทั้งหากต้องนอนในเวลากลางวัน อาจถูกผลกระทบจากแสงทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้เช่นกัน
  • การกินมากเกินไปหรือการอดอาหารจนท้องว่าง ก็ส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับได้เช่นกัน โดยเฉพาะอาหารบางชนิดที่ไม่ควรรับประทานเป็นมื้อเย็นเพราะอาจส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น พริก , ช็อกโกแลต , ชีส , กระเทียม , หอมใหญ่ , น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เนื่องจากนอนหลับถูกควบคุมด้วยสมองทำให้ยาที่มีฤทธิ์ส่งผลต่อสมองอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า
  • ยารักษาโรคสมาธิสั้น ยารักษาโรคทางจิต ยารักษาโรคสมองเสื่อม(Alzheimer) ยารักษาโรคพาร์กินสัน(Patkinson) และยาอื่นๆ เช่น ยาแก้คัดจมูก ยารักษาโรคหืด ยา
  • รักษาอาการปัสสาวะเล็ด/กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านเชื้อไวรัส เป็นต้น
    Jet Lag (เจ็ตแล็ก) หรืออาการนอนไม่หลับที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับตัวให้เข้ากับเวลาใหม่ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://dwpharma.co/jet-lag/
  • ปัญหาแสงสว่างจากอุปกรณ์ elctronic เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ซึ่งนอกจากแสงสว่างจากอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำให้นอนไม่หลับแล้วนั้น การใช้อุปกรณ์เหล่านี้จนเกินระยะเวลาที่เหมาะสมมักจะทำให้ร่างกายปรับสมดุลการนอนหลับได้ไม่ดี
  • ปัญหาด้านร่างกาย เช่น หยุดหายใจขณะหลับ เป็นไข้
  • ปัญหาด้านจิตใจ เช่น กังวล เครียด
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการนอน อากาศร้อน มีแสงหรือเสียงดังรบกวนระหว่างนอนหลับ
  • การมีสุขลักษณะการนอนที่ไม่ดี เช่น เล่นโทรศัพท์ก่อนนอน ดื่มกาแฟ
  • การเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก (Time Zone) ทําให้เกิด Jet Lag