ทำความรู้จัก ยาเสียสาว คืออะไร มีวิธีการสังเกตและ ป้องกันตัวเอง

ยาเสียสาว

ยาเสียสาว หรือยาเสียหนุ่ม นับเป็นการนำสารเคมี มาใช้ในทางที่ผิด อาทิ “ยาอัลปราโซแลม” (Alprazolam) รู้จักกันในหมู่นักเสพว่า “สี่คูณร้อย” เป็นยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง จึงมีผู้ที่นำยานี้มาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด

เราได้ยินคำว่า ยาเสียสาว กันมาหลายครั้ง โดยเฉพาะยาอัลปราโซแลม Alprazolam รู้จักกันในหมู่นักเสพว่าสี่คูณร้อย หรือนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม

สารเคมีที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยผู้ประสงค์ร้ายแอบลักลอบใช้กับเหยื่อ หวังก่ออาชญากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อรูดทรัพย์ หรือล่วงละเมิดทางเพศ

สารบัญ

ยาเสียสาว มีอะไรบ้าง

ยาเสียสาว

สำนักงานคณะกรรมการอาหารยาและยา  ให้ความหมาย “ยาเสียสาว” ในที่นี้ คือ สารเคมีที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยผู้ประสงค์ร้ายแอบลักลอบใช้กับเหยื่อ หวังก่ออาชญากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อรูดทรัพย์ หรือล่วงละเมิดทางเพศ โดยมักใช้สารเคมี ดังต่อไปนี้

  • ยามิดาโซแลม (Midazolam) หรือชื่อการค้า โดมิคุม (Dormicum)
  • ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam)
  • ยาฟลูไนตราซีแปม (Flunitrazepam) หรือชื่อการค้า โรฮิบนอล (Rohypnol)
  • สารจีเอชบี (GHB = gamma-hydroxybutyrate)
  • ยาเค หรือ เคตามีน (ketamine)

คุณสมบัติที่ทำให้ยาเหล่านี้ถูกนำใช้ในทางที่ผิด

  1. ผลของยาที่ทำให้เกิดอาการมึนงง ง่วงซึม ไม่มีสติ หรือสลบไปได้ รวมถึงยาบางตัวมีฤทธิ์คลายกังวล หรือทำให้รู้สึกเคลิ้มสุขคล้ายการดื่มแอลกอฮอล์
  2. ออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว ไม่เกิน 30 นาที หลังจากรับประทานยา
  3. สามารถละลายได้ดีในน้ำ ทำให้มีการนำยาเหล่านี้ไปละลายในเครื่องดื่มต่าง ๆ ให้คนดื่มไปโดยที่ไม่รู้ว่ามีการผสมยาลงไป ซึ่งหากใส่ไปในเครื่องดื่มพวกแอลกอฮอล์จะยิ่งเพิ่มการออกฤทธิ์ของยาเหล่านี้
  4. มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการสูญเสียความทรงจำไปชั่วขณะ จึงอาจทำให้เหยื่อไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

สังเกต ป้องกัน ตัวเองอย่างไร

ยาเหล่านี้อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตหากใช้เกินขนาด เนื่องจากมีฤทธิ์การกดการหายใจ จนเกิดอาการโคม่าเสียชีวิตได้

ดังนั้น เราควรระมัดระวังตัว และเรียนรู้วิธีการที่จะป้องกันตนเอง ไม่ดื่มเครื่องดื่มหรือรับประทานอาหารจากคนแปลกหน้า โดยเฉพาะหากอยู่ในสถานที่ไม่น่าไว้วางใจ

โดยมีอาการเตือนที่บ่งบอกว่าอาจได้รับสารเหล่านี้

  • คลื่นไส้อาเจียน มึนงง เดินเซ หายใจลำบาก
  • มีอาการคล้ายเมาสุรา แม้ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มไปเพียงเล็กน้อย

รู้จัก “ยาอัลปราโซแลม” (Alprazolam)

ยาเสียสาว

สำหรับ ยาเสียตัว อย่าง “ยาอัลปราโซแลม” (Alprazolam) ซึ่งเดิมจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มีประโยชน์ทางการแพทย์

ข้อบ่งใช้คือ บรรเทาหรือรักษาอาการวิตกกังวลและอาการตื่นตระหนก ชื่อทางการค้าที่รู้จัก เช่น ซาแน็กซ์ โซแลม มาโน เป็นต้น

แต่พบว่ามีการนำยานี้ไปเสพร่วมกับยาน้ำแก้ไอ น้ำใบกระท่อมต้ม หรือที่รู้จักกันในหมู่นักเสพว่า “สี่คูณร้อย” นอกจากนี้ ยังมีการนำไปใช้ก่ออาชญากรรม มอมยารูดทรัพย์หรือล่วงละเมิดทางเพศนักท่องเที่ยวตามสถานเริงรมย์ต่างๆ ซึ่งในบางรายถึงกับเสียชีวิต

ดังนั้น อย. จึงได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 2 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 มีสาระสำคัญคือ การยกระดับการควบคุม

อัลปราโซแลม (Alprazolam) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งห้ามผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก ยกเว้นกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบัน อัลปราโซแลม ควบคุมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ที่พบ

  • คลายกล้ามเนื้อลาย (muscle relaxants)
  • ต้านอาการชัก (antiepileptics)
  • ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ (anterograde amnesia)
  • ความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดลง
  • สมรรถภาพในการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญ หรือการตัดสินใจฉับพลันเสื่อมลง
  • เนื่องจากยานี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางจึงมีผู้ที่นำยานี้มาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด เช่นที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เป็นต้น

การติดยา

การใช้ยากลุ่ม benzodiazepines ในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการ ติดยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าหยุดยาทันทีจะเกิดอาการขาดยาหรือถอนยา เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้

คำเตือนหรือข้อควรระวัง

  • อาจทำให้ง่วงซึมไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือ ในที่สูง
  • ห้ามดื่มสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่
  • อาจเกิดผลตรงข้ามกับฤทธิ์ของยาที่ให้ (paradoxical reaction)
  • อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด ตับ หรือไตได้
  • สตรีมีครรภ์ สตรีระยะให้นมบุตร โรคต้อหิน โรคไมแอส ตีเนียแกรวีส (myasthenia gravis) โรคพอร์ไฟเรีย (porphyria) หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากแพทย์สั่ง
  • หากใช้ร่วมกับยาอื่น เช่นยากดหรือกระตุ้นประสาท ยาคุมกำเนิด ยาต้านฮิสตามีน รวมทั้ง cimetidine ควรปรึกษาแพทย์
  • หากมีอาการนอนไม่หลับ ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติ กล้ามเนื้อเปลี้ย หรือมีไข้ ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบปรึกษาแพทย์