ฮอร์โมนเพศหญิง ไม่สมดุลในเพศหญิง จะสังเกต และปรับสมดุลฮอร์โมนได้อย่างไรสาวๆ เคยไหม อยู่ดีๆ ก็ปวดท้อง ท้องอืด รู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกว่าสุขภาพผิดปกติไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
ความจริงแล้ว ตัวการที่อยู่เบื้องหลังปัญหาสุขภาพเหล่านั้นของคุณอาจเป็น “ฮอร์โมน” ก็ได้ ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หากฮอร์โมนไม่สมดุล ก็สามารถส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติได้
ว่าแต่สาวๆ จะสามารถสังเกตภาวะ ฮอร์โมนเพศหญิง ไม่สมดุลในได้อย่างไร แล้วจะปรับสมดุลฮอร์โมนได้ด้วยวิธีใดบ้าง
สารบัญ
- ฮอร์โมนเพศหญิงคืออะไร
- สัญญาณของ ฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง
- วิธีรักษาและปรับสมดุลฮอร์โมน
- วิธีปรับฮอร์โมนเพศหญิง
- สรุป
ฮอร์โมนเพศหญิงคืออะไร
ฮอร์โมนเพศหญิง จะมีรังไข่ผลิตฮอร์โมนเอสโทรเจน ซึ่งช่วยควบคุมภาวะการเจริญพันธุ์ และควบคุมลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง เช่น การมีเต้านม ผิวพรรณเปล่งปลั่ง เป็นฮอร์โมนของความสาว
ในรังไข่ยังผลิตฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน หรือฮอร์โมนสำหรับการตั้งครรภ์ ไว้คอยทำหน้าที่ควบคุมรอบเดือน ให้เป็นปกติ รวมไปถึงควบคุมภาวะตั้งครรภ์
ในวัยเจริญพันธุ์หากฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล จะทำให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือน เช่น สิวขึ้น ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้าง่าย และอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
สำหรับหญิงวัยทอง ฮอร์โมนเพศหญิงจะต่ำลงมาก ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ความจำแย่ อารมณ์ฉุนเฉียว กระดูกบาง ผิวเหี่ยว
คือฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ พบได้ทั้งในเพศหญิง และในเพศชาย แต่ในเพศชายจะมีปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงน้อยมาก
ฮอร์โมนที่สำคัญ
คือ ฮอร์โมน #เอสโตรเจน (#Estrogen) และ ฮอร์โมน #โพรเจสโทเจน/โปรเจสโตเจน (#Progestogen) หรือ โพรเจสเทอโรน/โปรเจสเตอโรน(Progesterone)
หน้าที่
ให้การเจริญเติบโตที่แสดงความเป็นผู้หญิง คือ มีเต้านม อวัยวะเพศทั้งภายนอกและภายใน การมีประจำเดือน ลักษณะกระดูกและกล้ามเนื้อ การจับเกาะของเซลล์ไขมันใต้ผิวหนัง และที่สะโพก การตั้งครรภ์ เป็นต้น
สัญญาณของ ฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง
ปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง สามารถสังเกตได้จากปัญหาสุขภาพเหล่านี้
ประจำเดือนมาไม่ปกติ
รอบการมีประจำเดือนของผู้หญิงส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 21-35 วัน แต่หากรอบประจำเดือนของคุณแตกต่างกันมาก หรือประจำเดือนไม่มาหลายเดือน
นั่นอาจหมายความว่าร่างกายของคุณหลั่งฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจน หรือโปรเจสเตอโรนออกมาน้อยหรือมากเกินไป หรือหากคุณเป็นผู้หญิงวัย 40 หรือ 50 ก็อาจเป็นเพราะคุณกำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน
แต่ประจำเดือนผิดปกติก็อาจเป็นเพราะภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS) ได้ ฉะนั้น หากประจำเดือนมาไม่ปกติเรื้อรัง ควรปรึกษาคุณหมอ อย่าปล่อยไว้
เป็นสิวเรื้อรัง
การมีสิวประปราย หรือมักมีสิวในช่วงก่อนมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณเป็นสิวเรื้อรังก็อาจเป็นสัญญาณของฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิงได้
ปัญหาสิวเรื้อรังนั้นอาจเกิดจากร่างกายของคุณหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายออกมามากเกินไป จึงทำให้ต่อมไขมันทำงานผิดปกติ และส่งผลต่อเซลล์ผิวหนังรอบรูขุมขน จนรูขุมขนอุดตันและเกิดสิวได้
มีปัญหาในการนอนหลับ
ปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนหลับยาก นอนไม่พอ ก็อาจเกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่สมดุลได้ ฮอร์โมนชนิดนี้สร้างจากรังไข่และช่วยในการนอนหลับ
เมื่อระดับโปรเจสเตอโรนน้อยกว่าปกติ จึงอาจส่งผลให้คุณนอนหลับยากได้ นอกจากนี้ ปัญหาเอสโตรเจนต่ำก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการร้อนวูบวาบหรือเหงื่อออกตอนกลางคืน จนทำให้คุณไม่สบายตัวและนอนไม่หลับได้เช่นกัน
อ่านบทความ : ยานอนหลับช่วยได้จริงหรือไม่
สมองตื้อ หรือสมองล้า
แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าฮอร์โมนส่งผลต่อสมองอย่างไรบ้าง แต่ก็เผยว่า การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอรอนนั้นสามารถทำให้เกิดภาวะสมองล้า หรือสมองตื้อ จนคิดอะไรไม่ค่อยออก จำอะไรไม่ค่อยได้
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งสันนิษฐานว่า อาจเป็นเพราะเอสโตรเจนส่งผลกระทบต่อสารเคมีที่เรียกว่า “สารสื่อประสาท” (Neurotransmitter) ที่มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของสมอง ซึ่งปัญหาด้านความคิด ความจำ และสมาธิ มักเกิดในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว แต่ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากฮอร์โมนตัวอื่นๆ ไม่สมดุล เช่น โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ก็ส่งผลกระทบต่อสมองได้
อารมณ์แปรปรวน และซึมเศร้า
ระดับฮอร์โมนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว หรือขึ้นๆ ลงๆ ในเวลาอันสั้นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณมีอารมณ์แปรปรวน หรือรู้สึกซึมเศร้าได้
เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผลต่อสารเคมีในสมองอย่างเซโรโทนิน โดพามีน และนอร์อิพิเนฟริน ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของเรา พอสารเคมีเหล่านี้ผิดปกติ อารมณ์เลยแปรปรวนง่าย
อยากอาหาร หรือน้ำหนักขึ้นผิดปกติ
เมื่อเอสโตรเจน (Estrogen) ในร่างกายต่ำ ก็จะทำให้คุณรู้สึกอารมณ์ไม่ดี และกระตุ้นให้คุณอยากอาหารมากขึ้น ทั้งยังส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ที่ควบคุมความหิวและความอิ่ม พอคุณกินอาหารมาก น้ำหนักตัวจึงเพิ่มขึ้น
ปวดศีรษะ
ลองสังเกตตัวเองดู หากคุณปวดศีรษะในช่วงเวลาใกล้เคียงกันทุกเดือน นั่นคือ ในช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือระหว่างมีประจำเดือน
นั่นอาจเป็นเพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายต่ำกว่าปกติได้
รู้ไหมว่าภาวะช่องคลอดแห้งก็เป็นสัญญาณของฮอร์โมนไม่สมดุลเช่นกัน เนื่องจากฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจน จะช่วยให้เนื้อเยื่อของช่องคลอดชุ่มชื้นและเป็นปกติ
ฉะนั้นเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำเกินไป ก็อาจทำให้ของเหลวในช่องคลอดลงลด จนช่องคลอดแห้งและระคายเคืองได้
ความต้องการทางเพศลดลง
เมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำกว่าปกติ ก็อาจทำให้สาวๆ มีความต้องการทางเพศลดลง
ซึ่งระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนี้ก็ส่งผลต่อความต้องการทางเพศในเพศชายด้วยเช่นกัน มีตัวช่วยดีแนะนำ ผลิตภัณฑ์ ยาปลุกอารมณ์หญิง
หน้าอกเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อระดับเอสโตรเจนลดลง อาจทำให้ความหนาแน่นของเนื้อเยื่อทรวงอกลดลง จนคุณรู้สึกว่าเต้านมเหลว หรือนิ่มขึ้น หรือหากระดับฮอร์โมนสูงกว่าปกติ ก็อาจทำให้เต้านมคัดตึงหรือทำให้เกิดก้อนหรือซีสต์ที่เต้านมได้ด้วย
ฉะนั้น หากคุณรู้สึกว่าเต้านมเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอะไรผิดปกติ ควรปรึกษาคุณหมอทันที
นอกจากตัวอย่างที่เรายกมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมีสภาะสุขภาพอีกมากมายที่อาจเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น
- อาการเหนื่อยล้า
- ท้องไส้แปรปรวน ท้องผูก ท้องเสีย
- ผิวแห้ง
- หน้าบวม
- กล้ามเนื้ออ่อนแอลง
- กระหายผิดปกติ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- มีรอยช้ำง่าย
- ฉะนั้น หากคุณมีอาการใดเรื้อรัง ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ร้ายแรงกว่าภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิงก็ได้
วิธีรักษาและปรับสมดุลฮอร์โมน
หากคุณหมอวินิจฉัยว่า คุณมีปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุล คุณอาจต้องเข้ารับการรักษาเพื่อปรับสมดุลของฮอร์โมนด้วยวิธีการ เช่น
การใช้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งนิยมใช้ในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ปรับสมดุลของเอสโตรเจนในช่องคลอด ด้วยการใช้ยาที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจน ทั้งแบบครีมสำหรับทา แบบเม็ดสอดช่องคลอด แบบแผ่นแปะผิวหนัง แบบกิน เป็นต้น
การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นอาจให้ร่วมกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวหนึ่ง คือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศตามธรรมชาติ จะช่วยทำให้ผิวหนังเต่งตึงและชุ่มชื้น ลดอาการผิวหนังอักเสบ ผมจะหนาและดกดำขึ้น ช่วยเพิ่มระดับของความจำ มีสมาธิมากขึ้น
ใช้การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด วงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และทำให้ประจำเดือนเป็นปกติ ทั้งยังอาจช่วยลดสิวและลดขนที่ดกเกินไปได้ด้วย
ใช้ยาต้านแอนโดรเจน สำหรับผู้หญิงที่มีฮอร์โมนแอนโดรเจนมากเกินไป คุณหมออาจให้คุณใช้ยาต้านฤทธิ์แอนโดรเจน ซึ่งจะช่วยให้ปัญหาผมร่วง ขนดกดำเกินไป หรือปัญหาสิวดีขึ้นได้
นอกจากวิธีรักษาทางการแพทย์แล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ ก็ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนให้คุณได้เช่นกัน
ลดน้ำหนัก ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หากผู้หญิงลดน้ำหนักตัวลงได้ 10% จะช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ และเพิ่มอากาสในการตั้งครรภ์ได้ด้วย
กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม
ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน วิธีนี้นอกจากจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย
ลดปัญหาช่องคลอดแห้ง ด้วยการใช้ครีมหรือเจลหล่อลื่นชนิดไม่มีพาราเบน กลีเซอรีน หรือปิโตรเลียม
ลดปัญหาร้อนวูบวาบ ด้วยการหาสิ่งกระตุ้นอาการร้อนวูบวาบของคุณให้เจอ
ส่วนใหญ่มักเกิดจากอากาศร้อน อาหารรสจัด เครื่องดื่มร้อน เมื่อรู้แล้วว่าคุณมักมีอาการร้อนวูบวาบเพราะอะไร ก็ลดตัวกระตุ้นนั้นเสีย
วิธีปรับฮอร์โมนเพศหญิง
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนไม่เพียงพอก่อให้เกิดความเครียดสะสม ส่งผลให้ฮอร์โมนความเครียดถูกหลั่งออกมามากเกินไป และไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ
การนอนไม่เพียงพอยังส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) ที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติ ส่งผลต่อการตกไข่และรอบเดือนที่ไม่ปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ เช่น วิ่งเหยาะๆ เต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก๊ก เป็นต้น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 30 นาที
3. ควบคุมน้ำหนักให้พอดีเกณฑ์
ในผู้ที่มีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดเพี้ยน ทำให้รังไข่ทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไข่ไม่ตกซึ่งเป็นสาเหตุของอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีข้อมูลทางการแพทย์เปิดเผยว่าคนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่และการมีประจำเดือน ทำให้ท้องยากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ ถึง 2 เท่า
4. ปรับโภชนาการอาหาร
การกินอาหารส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมน อยากมีสุขภาพดีต้องทานอาหารดีๆ อาหารช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนได้ หากกินแต่อาหารไขมันสูง น้ำตาล ของหวาน แอลกอฮออล์ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อฮอร์โมนที่ผิดเพี้ยน
โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีปัญหาเรื่องประจำเดือน จำเป็นต้องหันมาทานอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ได้แก่
1.เพิ่มโปรตีน
การทานโปรตีนจากสัตว์อาจมีฮอร์โมนเร่งเนื้อแดงตกค้างและมีไขมันสูงทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมีบุตรยาก ดังนั้นควรเลือกทานโปรตีนสัตว์ที่มีแหล่งโปรตีนชั้นดีและไม่ติดมัน เช่น ไข่ เนื้อปลา อกไก่ หรือ นมแพะ เป็นต้น
ส่วนโปรตีนจากพืช ช่วยลดความเสี่ยงจากการมีบุตรยาก โดยโปรตีนจากพืช ที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ได้แก่ ถั่วเหลือง อัลมอนด์ งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง
2.ลดคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรต
การทานอาหารแบบลดคาร์บประเภท Refined Carb ลง ช่วยลดระดับอินซูลิน ส่งผลต่อฮอร์โมนที่สมดุล วงจรการตกไข่เป็นปกติขึ้น ทำให้มีอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้น
ดังนั้น ผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี (Complex Carb) ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว และธัญพืชที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธ์ (Fertility) เช่น อัลมอนด์ แฟล็กซีด และลูกเดือย งาดำ เมล็ดฟักทอง
3.งดหวาน
น้ำตาลทำลายเซลล์ไข่ของผู้หญิง เนื่องจากน้ำตาลจากอาหารแปรรูป เมื่อทานเข้าไปแล้วร่างกายจะย่อยทันทีส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเฉียบพลัน และกระตุ้น “การหลั่งอินซูลิน” ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) จะส่งผลให้ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ไข่ใบเล็กด้อยคุณภาพ
5. ดูแลจัดการความเครียด
ทำจิตใจให้แจ่มใสเพื่อลดความเครียด เพราะความเครียดถูกจัดเป็นสิ่งที่ซับซ้อนพอๆกับการรักษาสมดุลของฮอร์โมนให้มีสุขภาพที่ดี ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพทางจิตใจก็สำคัญไม่แพ้กัน
6. ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่
เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้นิโคตินเข้าไปขัดขวางการผลิตฮอร์โมนตามธรรมชาติของรังไข่ และทำให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนออกมาได้น้อยไม่เพียงพอต่อการสร้างเซลล์ไข่หรือปรับสมดุลให้กับโพรงมดลูก
บทความเลิกบุหรี่ คลิ๊ก
7. ใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อทดแทน
การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ (Bio-identical Hormone) ที่มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย
สรุป
วิธีดูแลร่างกายให้ฮอร์โมนอยู่ในระดับสมดุล เช่น การนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 7-8 ชม. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารหวานและรสจัด ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
ในกรณีที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนได้มากหรือน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง ตามมาได้ แพทย์อาจสั่งยาฮอร์โมน หรือยาชนิดอื่นๆ ให้รับประทาน เพื่อช่วยจัดการภาวะขาดสมดุลของฮอร์โมนเหล่านี้ และปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้เข้าสู่ภาวะปกติ